top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนBird Anuchat

โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?





โยคะอาสนะ (Asana) คืออะไร?

อาสนะ (Asana) เป็นท่าฝึกโยคะทางกายบริหาร เพื่อสร้างสภาวะแห่งความสมดุล ความสบายอย่างสูงสุด ร่างกายจะได้ผ่อนคลาย อารมณ์สงบ จิตใจมั่งคง มีสมาธิ ท่าอาสนะ (Asana) เป็นแขนงหนึ่งของการฝึกโยคะทางกายบริหาร ท่ากายบริหารที่ดำเนินอย่างนิ่มนวลและละเอียดอ่อน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และทำให้ระบบกระดูกสันหลังแข็งแรง มีประสิทธิภาพในทางสรีรศาสตร์จะถูกทำให้มีความสมดุล กลมกลืนซึ่งกันและกัน และพิษในร่างกายจะถูกขับออกไป การฝึกในท่าอาสนะ (Asana) ยังส่งผลดีต่อจิตใจอีกด้วย โดยการเพ่งอยู่ที่การฝึกเท่านั้น คุณจะพบว่าจิตใจของคุณสงบและอารมณ์มีความมั่นคง ภายใต้การฝึกโยคะในท่าอาสนะ (Asana) จิตใจ ร่างกายและการหายใจ ได้กลายเป็นหนึ่งเดียว ช่วงเวลาทั้งหมดได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน คุณจะรู้สึกถึงความสัมพันธ์แห่งกาลเวลาและรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวในสรรพสิ่งและในสากลจักรวาล เป้าหมายของอาสนะ (Asana) อาสนะ (Asana) ช่วยกระตุ้นสัญญาณประสาทกล้ามเนื้อ ให้ทำงานอย่างเหมาะสมและพัฒนาความแข็งแรงของมัสเชิลโทน (การที่ระบบประสาทอัตโนมัติ สั่งการให้กล้ามเนื้อที่จำเป็น คอยพยุงร่างกายให้สามารถคงตัวอยู่นิ่งๆ ได้ในอิริยาบถ) อาสนะ (Asana) มีกี่ประเภท? ท่าอาสนะ (Asana) มีอยู่เป็นจำนวนมากมาย และสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ • อาสนะเพื่อสมาธิ เป็นอิริยาบถที่ทำให้ร่างกายตั้งตรงอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นเวลานาน ทั้งลำตัว คอและศีรษะ โดยไม่ฝืน เช่น ปทุมอาสนะ วัชระอาสนะ สิทธาอาสนะ • อาสนะเพื่อสร้างสมดุล (เพื่อสุขภาพกาย) เป็นการเหยียดร่างกายแล้วนิ่ง มีความยืดหยุ่น ขณะเดียวกันช่วยให้กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อพยุงกระดูกสันหลังแข็งแรง กระตุ้นการทำงานของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง ภายในช่องทรวงอก ให้ทำงานเป็นปกติ เช่น ปัจฉิโมทนาอาสนะ วัคระอาสนะ ภุชงค์อาสนะ มัทสยาอาสนะ หาละอาสนะ จักระอาสนะ วฤกษ์อาสนะ

• อาสนะเพื่อการผ่อนคลาย เป็นอิริยาบถในท่านอน มีวัตถุประสงค์เพื่อการผ่อนคลายทั้งกายและใจ เช่น สวะอาสนะ (ท่าศพ) มัคระอาสนะ (ท่าจระเข้)


การแบ่งระดับชั้นของท่าอาสนะ (Asana) ขอบเขตของท่าอาสนะ (Asana) นั้นมีไม่สิ้นสุด แต่ละท่าต่างก็มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ อย่างไรก็ตามท่าอาสนะ (Asana) นั้นสามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้ และช่วยให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกโยคะในท่าต่างๆ ท่าอาสนะ (Asana) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ท่า ได้แก่ ท่าอุ่นเครื่อง (ท่าผ่อนคลาย) ท่ายืน ท่านั่ง ท่าบนพื้นและท่าเอี้ยวตัว นอกจากนี้แล้ว ยังมีการแบ่งระดับนอกเหนือไปจากชื่อของแต่ละท่าอีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น 1. ท่าพัก - เป็นการตั้งท่าให้ดีซึ่งทำให้ร่างกายสงบนิ่ง ท่าพักนี้ใช้ระหว่างการฝึกในท่าต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความสมดุลและเป็นการเตรียมสำหรับการฝึกในท่าต่อไป 2. ท่าคลาย - ท่านี้ช่วยให้ร่างกายขยายพลังงานที่มีชีวิตชีวาภายในร่างกายออกอย่างนิ่มนวล 3. ท่าสมดุล - เป็นท่าที่ส่งเสริมความใจจดใจจ่อและความสงบของจิตใจและเป็นการพัฒนาความมีบุคลิกลักษณะและความคล่องแคล่ว 4. ท่ายืด - ท่านี้ทำให้กล้ามเนื้อยืดออกไปและเสริมความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ 5. ท่าโค้งตัวไปข้างหลัง - เป็นท่าที่ทำให้กระดูกสันหลังแข็งแรง ขยายหน้าอก ขับไล่พิษออกจากร่างกายและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต 6. ท่าโค้งตัวไปข้างหน้า - เป็นการนวดอวัยวะส่วนท้อง นำเลือดไปสู่สมองและทำให้กล้ามเนื้อหลังและขาดีขึ้น ทำให้ร่างกายสมดุลอีกครั้งหนึ่งภายหลังฝึกท่าโค้งตัวหน้าแล้ว 7. ท่าบิดตัว - ทำให้กระดูกสันหลังเข้าที่ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบประสาทและปรับปรุงการกระจายพลังงานในร่างกายให้ดีขึ้น 8. ท่าเอี้ยวตัว - ทำให้พลังแห่งความถ่วงในร่างกายกลับกัน คลายความเหนื่อยล้าของขา กระตุ้นการทำงานของต่อมไธรอยด์ สร้างพลังแห่งชีวิตและทำให้อารมณ์สงบ ท่าอาสนะ (Asana) แต่ละท่า ควรจะเสริมให้มีความสมบูรณ์ไปจนถึงที่สุด ช่วงของการฝึกโยคะนั้น ควรจะดำเนินไปอย่างง่ายๆ จากท่าที่หนึ่งถึงท่าต่อไป ท่าฝึกมากมายหลายท่าเหมาะกับการแบ่งประเภทได้มากกว่าหนึ่งประเภท ท่าโน้มไปข้างหน้าหรือโน้มไปข้างหลัง โดยปกติแล้วก็ยังเป็นท่ายืดได้อีกด้วย ท่าบิดก็อาจจะเป็นท่าคลาย การแบ่งประเภทของท่าฝึกโยคะอาสนะ (Asana) นั้น ก็เพียงเพื่อที่จะเสนอการมองลักษณะที่แตกต่างกันของท่าฝึก และประโยชน์ของมันได้ทุกด้านเท่านั้นเอง ในการฝึกโยคะ แต่ละท่าฝึกควรจะเป็นการส่งเสริมท่าฝึกก่อนหน้านี้ที่ได้ฝึกไปแล้ว ช่วงของการฝึกควรจะดำเนินไปจากท่าหนึ่งไปยังท่าต่อไปอย่างง่ายๆ และอย่างนิ่มนวล มีความสมดุล และกลมกลืน ถ้าคุณพยายามโน้มตัวไปข้างหลังก็จงดำเนินการต่อมาด้วยการโน้มตัวไปข้างหน้าเสมอไป ถ้าคุณยืดตัว คุณจงงอตัวหลังจากนั้นเสมอไป ขอให้ใช้ความรู้ในหลักการนี้ ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คุณฝึกท่าอาสนะ (Asana) ไปจนตลอดแล้ว ขอให้ชื่นชมกับความกลมกลืน มิใช่แต่เฉพาะในแต่ละท่าฝึกเท่านั้น แต่ชื่นชมในท่าฝึกเหล่านั้นทั้งหมด "นี่คือศิลปะแห่งการฝึกโยคะอย่างแท้จริง..."


ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page